หน้าหลัก > ข่าว > สื่อโสตทัศน์/วารสารใหม่ > ตาม (กระแส) ไม้ประดับแปลกตา : มันสาคูใบด่าง : กสิกร
ตาม (กระแส) ไม้ประดับแปลกตา : มันสาคูใบด่าง : กสิกร

admin admin2
2021-12-17 12:01:39

พัชร ปิริยะวินิตร. (2564, มิถุนายน-กรกฎาคม), ตาม (กระแส) ไม้ประดับแปลกตา : มันสาคูใบด่าง :  กสิกร. 94 (5) : 58-            59


          ปัจจุบันความนิยมและกระแสการปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยเฉพาะไม้ที่มีสีสันแปลกตาหรือมีลักษณะ    โดดเด่น เช่น ไม้ใบด่าง ทำให้ราคาไม้ประดับพุ่งสูงขึ้นตามกลไกความต้องการของตลาด ด้วยเหตุนี้จึงจะขอแนะนำพืชทีมีลักษณะใบด่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบเห็นมาตั้งแต่อดีต ใบมีลวดลายที่สวยงามและราคาไม่สูงมากนัก ได้แก่ สาคูใบด่าง หรือ มันสาคูใบลาย หรือ ว่านนกยูง

ลักษณะทั่วไป

          มันสาคูใบด่าง หรือ ว่านนกยูง  มีชื่อเรียกอื่น เช่น ว่านนกขวา (แม่ฮ่องสอน) บุเรงนอง (กรุงเทพฯ) มีลักษณะคล้ายต้นมันสาคู เป็นไม้ล้มลุกมีอายุอยู่ได้หลายฤดู พื้นใบมีลายสีขาวเป็นแถบสลับกับใบเขียวพาดบนใบสวยคล้ายนกยูง ตามตำราว่านโบราณมีการนำต้นมาใช้ปลูกเป็นไม้มงคล เพื่อป้องกันเสนียดจัญไรแก่ครอบครัวหรือผู้อยู่อาศัย โดยถ้านำหัวว่านมาเสกด้วยคาถา แล้วพกติดต่อไว้จะปลอดภัยแคล้วคลาดจากศัตรูและอันตราย ใช้หัวต้มเป็นสรรพคุณทางยาเพื่อแก้ร้อนไน แก้เจ็บคอ รักษาเด็กที่เป็นอีสุกอีใน

การปลูกและการชยายพันธุ์ 

          ใช้วิธีเดียวกับมันสาคูใบเขียวธรรมดา โดยปลูกในสภาพดินร่วนหรือร่วนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี ทนต่อสภาพร่มเงาได้ ขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนปลายของเหง้า หน่อ ลำต้นอ่อนที่เกิดบริเวณลำต้น และสามารถสร้างเหง้าได้เช่นเดียวกับมันสาคูใบเขียวธรรมดา สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมาใช้บริโภคได้ เมื่ออายุตั้งแต่  8-9 เดือนขึ้นไป

           จะเห็นได้ว่ามันสาคูใบด่างหรือว่านนกยูงมีหลักฐานการพบเจอมากว่า 100 ปี ทั้งมีคุณประโยชน์หลากหลายทั้งในแง่การปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งสถานที่ให้มีความสวยงาม หรือการนำเหง้าหรือหัวมาใช้ในการบริโภคยามขาดแคลนได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติทางว่านป้องกันสิ่งอัปมงคลและเสริมเสน่ห์มหานิยมตามตำราโบราณอีกด้วย