พุทธศักราช 2548
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่
จึงมี
ประกาศเรื่องการแบ่งส่วนราชการภาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พุทธศักราช 2548 ลงวันที่ 25 เมษายน 2548
กำหนดให้สำนักวิทยบริการแลเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีภารกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยบริการ
การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 4
หน่วยงานย่อย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ
และศูนย์ให้บริการ 3
ศูนย์ซึ่งประกอบด้วยศูนย์วิทยบริการ
ศูนย์การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีทางการศึกษา
และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์แต่ละแห่งมีประวัติ
ความเป็นมาดังนี้ ศูนย์วิทยบริการ
พุทธศักราช 2535
วิทยาลัยครูได้รับพระราชทานนามจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ยกฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏ”
ส่วนในงานของฝ่ายหอสมุดได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ดำเนินงาน
โดยใช้โปรแกรม MiniMicro
CDS/ISIS
พุทธศักราช 2538
วิทยาลัยครูได้เปลี่ยนฐานะเป็น
“สถาบันราชภัฏ”
อย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามการแบ่งส่วนราชการในสถาบันราชภัฏ
ได้กำหนดให้ฝ่ายหอสมุดมีฐานะเปลี่ยนไปเป็น
“ สำนักวิทยบริการ ”
และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้รับงบประมาณเพื่อจัดสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ
4 ชั้น สร้างเสร็จเรียบร้อยในเดือนตุลาคม
พุทธศักราช 2541
หลังจากนั้นได้ทำทางเดินเชื่อมอาคารหอสมุดเก่ากับอาคารหลังใหม่
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ
ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า“อาคารเฉลิมพระเกียรติ
พระชนมพรรษา 6 รอบ และเมื่อวันที่ 15
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542
สำนักวิทยบริการเริ่มเปิดบริการให้แก่
อาจารย์ นักศึกษา
และเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ
โดยนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติโปรแกรม Alice
for Windows มาใช้
ต่อมาปีพุทธศักราช 2543
ได้มีการต่อเติมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
ชั้น 5
ขึ้นเพื่อขยายการให้บริการตำราวิชาการ
และงานวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา
รวมทั้งตำราวิชาการในโครงการตำราราชภัฏเฉลิมพระเกียรติฯ
และห้องสมุดศูนย์พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ
โดยได้เปิดบริการให้แก่นักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา
2544 ปลายปี พ.ศ. 2544 สถาบันฯ
มีนโยบายสร้างอาคารศูนย์คอมพิวเตอร์และภาษาเคียงข้างอาคารหอสมุด
จึงจำเป็นต้องรื้อถอนอาคารหอสมุดในส่วนที่เป็นสำนักงานของฝ่ายเลขานุการ
สำนักวิทยบริการ
จึงต้องยุบห้องสมุดสำหรับคนพิการ
เพื่อใช้พื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานฝ่ายเลขานุการ
ย้ายมุมเด็กไปจัดไว้ที่ ชั้น 1
ห้องโถงหน้าลิฟท์
อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
พุทธศักราช 2547
คณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ
(สปศ.)
ได้เสนอยกฐานะให้สถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัย
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเมื่อวันที่ 9
มิถุนายน พุทธศักราช 2547
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พุทธศักราช 2547
เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
และประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่
10 มิถุนายน พุทธศักราช 2547
พุทธศักราช 2548
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่
และสำนักวิทยบริการ
ได้เปลี่ยนฐานะเป็นศูนย์วิทยบริการ
ขึ้นอยู่กับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
เดิมชื่อ ศูนย์คอมพิวเตอร์และบริการ
ได้ประกาศและจัดตั้งศูนย์ฯ
ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2529
ที่ทำการสำนักงานอยู่ที่ 127 หรือ 1127
อาคาร 1
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การฝึกอบรมและบริการทางด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน
ทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัยฯ
พุทธศักราช 2529
ได้รับความร่วมมือจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มาทำการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบไมโครคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการการซ่อมบำรุง
ไมโครคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์
เป็นต้น
พุทธศักราช 2529-2532
ได้ทำโครงการความร่วมมือกับศูนย์คอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในโครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนคอมพิวเตอร์
ให้แก่คณาจารย์ของสถาบันราชภัฏทั้ง 36
แห่งทั่วประเทศ ทั้งหมด 6 รายวิชา รวม 18
หน่วยกิต ได้แก่ การประมวลผลแฟ้มข้อมูล
การเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล
การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
และโครงสร้างข้อมูล
ได้มีอาจารย์ผู้สอนในโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์จากสถาบันราชภัฏผ่านการอบรมทั้ง
สิ้นประมาณ 250 คน
ตั้งแต่ พุทธศักราช 2529
มาจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ให้บริการแก่ชุมชน
โดยการฝึกอบรมหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ให้แก่ประชาชน, หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
และบุคคลภายนอก มากกว่า 150 รุ่น
หรือประมาณ 3,000 กว่าคน
ต่อมาพุทธศักราช 2542
รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีนโยบายให้แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง
หรือ CEO รับผิดชอบทางด้าน IT
(Information Technology)
จึงได้มีการจัดตั้งสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและมีการแต่งตั้ง
CEO ขึ้น
พุทธศักราช 2542
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้ประกาศโครงการจัดตั้งสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้การบริการด้านการฝึกอบรมด้าน IT
ให้แก่ บุคลากร และบุคคลภายนอก
บริการและดูแลระบบ IT ของหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งสถาบัน พร้อมทั้งดูแลแผนแม่บทด้าน IT
ของสถาบัน โดยสถาบันฯ
มีการประกาศโครงสร้างการบริหารและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร
และฝ่ายต่าง ๆ ของสำนักขึ้นในวันที่ 15
พฤศจิกายน 2542
และแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดทำแผนแม่บท
IT
ของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาขึ้นในพุทธศักราช
2543 เป็นแผนแม่บทที่ใช้ระหว่างปี พ.ศ.
2543-2544
ได้มีการวางระบบสนับสนุนขั้นพื้นฐานหรือ
IT Infrastructure
ได้แก่ระบบเครือข่ายความเร็วสูงของสถาบัน
ในระบบ Gigabit System ระบบ EPR
สำหรับการบริหารจัดการฐานข้อมูลสถาบัน
และระบบ Web-based Instruction
สำหรับการเรียนการสอน
จนกระทั่งพุทธศักราช 2547
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้เปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา และในปีต่อมา พุทธศักราช 2548
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนฐานะตามโครงสร้างองค์กรใหม่
ของมหาวิทยาลัยฯ
เป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
สังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
...
มีพัฒนาการมาจากห้องสมุดโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม
พุทธศักราช 2480 ณ อุโมงค์ใต้เนินพระนางฯ
เป็นการชั่วคราว
ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสายสุทธานพดล
พุทธศักราช 2500 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร 1
(อาคารกรรณาภรณ์พิพัฒน์) มีขนาด 2
ห้องเรียน
ระยะนี้ห้องสมุดเริ่มปฏิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบสากลนิยมต่อมาในปีพุทธ
ศักราช 2517
วิทยาลัยครูสวนสุนันทาได้รับงบประมาณสร้างอาคารหอสมุด
2 ชั้น
เป็นอาคารเอกเทศและได้รับการเปลี่ยนฐานะจากห้องสมุดมาเป็นหอสมุด
วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการอำนวยการหอสมุด
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานหอสมุดเป็นไปตามหลักวิชาวิชาบรรณารักษศาสตร์
อย่างแท้จริง ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู
พุทธศักราช 2518